"หากคุณไปติดต่อขายกับโรงงานปลายทางเอง เขาอาจถามย้อนกลับว่า จะส่งวัตถุดิบหรือขยะรีไซเคิลกี่ตันต่อปี และต้องระบุยอดวัตถุดิบในสังกัดเครือข่ายให้ได้เสียก่อน เพื่อมิให้เกิดผลเสียต่อโรงงานรับซื้อ

ธุรกิจค้าของเก่า ต้องมีระบบพรรคพวก มีเครือญาติ ไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้ลำพัง ต้องผนึกกำลังเพื่อรวมขยะรีไซเคิลทั้งหมดส่งขาย โดยใช้ชื่อบุคคลเดียว ทั้งนี้เพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรอง นำไปสู่ผลประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ติง‘วงษ์พาณิชย์’ตั้งแฟรนไชส์ขยะมุ่งกินค่าหัวคิวไม่หนุนรีไซเคิลจริง

ที่มา : http://library.psru.ac.th/rlocal/news/13.html

ติง‘วงษ์พาณิชย์’ตั้งแฟรนไชส์ขยะมุ่งกินค่าหัวคิวไม่หนุนรีไซเคิลจริง



วงการรับซื้อของเก่าติง"วงษ์พาณิชย์"ตั้งระบบแฟรนไชส์รับซื้อขยะรีไซเคิล หวังเก็บเงินค่าสิทธิ์ที่คิดแพงเกินเหตุถึงรายละ 2-3 แสนบาทแลกกับความรู้ทั่วไปที่สอบถามกันได้ แถมได้กินค่าหัวคิวจากร้านลูกข่ายที่ส่งวัตถุดิบให้โรงงานปลายทาง ด้าน"สมไทย"โต้ เน้นขายแฟรนไชส์เฉพาะรายที่ต้องการเข้าสู่ธุรกิจนี้แบบมืออาชีพ
ยันธุรกิจขยะรีไซเคิลต้องมีภูมิความรู้และตามตลาดให้ทัน
แหล่งข่าวเจ้าของธุรกิจรับซื้อของเก่าย่านนนทบุรี ให้ความเห็นต่อการขยายแฟรนไชส์ร้านรับซื้อขยะรีไซเคิล ของ"วงษ์พาณิชย์" ว่า แฝงไปด้วยความต้องการหากำไรจากการเก็บค่าแฟรนไชส์ มากกว่าส่งเสริมการรีไซเคิลขยะอย่างจริงจัง เนื่องจากการทำธุรกิจนี้ ไม่จำเป็นต้องมีแฟรนไชส์ที่ต้องเสียเงินซื้อสิทธิ์นับแสนบาทตามที่วงษ์พาณิชย์ได้เรียกเก็บจากร้านลูกข่าย ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้เองจากประสบการณ์ และสอบถามจากร้านรับซื้อของเก่าได้ทุกเจ้าเพื่อจะได้ซื้อขยะไม่ผิดประเภท ซึ่งร้านแต่ละเจ้าไม่ปิดบังอยู่แล้ว จึงทำให้มีร้านรับซื้อของเก่าเกิดขึ้นทั่วประเทศ
"ถ้าวงษ์พาณิชย์จริงใจกับการแก้ปัญหาขยะจริง ๆ ไม่ควรเก็บค่าแฟรนไชส์กับร้านค้าเล็ก ๆ ที่ไปสอบถาม บางรายต้องเสียเงิน 6,000 บาทเพื่อแลกกับความรู้ที่สามารถหาได้จากร้านของเก่าทั่วประเทศอยู่แล้ว มันเป็นธุรกิจที่ไม่ใช่เฉพาะของใครคนใดคนหนึ่งที่สมควรจะเรียกเก็บเงินจากคนที่ไม่รู้"แหล่งข่าวกล่าว และว่า เมื่อเสียเงินแล้วยังต้องเอาของไปส่งเพื่อให้วงษ์พาณิชย์กินค่าหัวในการนำส่งโรงงานอุตสาหกรรมอีก
แหล่งข่าวเปิดเผยอีกว่า ตนทำธุรกิจรับซื้อของเก่ามาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มจากการพายเรือเก็บขวด กระดาษ รวมทั้งซากเครื่องบินรบไปขาย จนปัจจุบันได้ขยายไปทำธุรกิจเกี่ยวกับโลหะรีไซเคิลส่งออกไปต่างประเทศ ซึ่งจะเห็นว่าการรีไซเคิลขยะโดยทั่วไปมีการทำมานานมากแล้ว แต่เพิ่งจะบูมเมื่อ 6-7 ปีก่อนโดยผ่านรถซาเล้ง และร้านของเก่ารายย่อยทั่ว ๆ ไป และยอมรับว่า ธุรกิจค้าของเก่าเป็นธุรกิจที่ดีและมีอนาคตจริง ทำแล้วไม่ขาดทุน เพราะขายได้ทุกอย่าง มีโรงงานรับซื้อทุกชนิด ทั้งกระดาษ ขวด เศษเหล็ก อลูมิเนียม ฯลฯ แต่ขยะที่รีไซเคิลได้จริงมีประมาณ 10 - 20% นอกนั้นจะเป็นขยะจากครัวเรือนซึ่งเป็นพวกขยะสด
อย่างไรก็ตาม การส่งขยะรีไซเคิลแต่ละชนิดให้โรงงาน ล้วนแล้วแต่มีโควตาทั้งสิ้น ซึ่งตนก็ถือโควตาเช่นกัน เช่น เศษเหล็ก ถ้าแนะนำใครไปส่งก็ได้กินหัวคิวทุกเจ้าเช่นกัน แต่ตนไม่เคยเก็บเงินใคร เวลาถามเกี่ยวกับสินค้าที่อยากรู้จะอธิบายอย่างหมดเปลือกว่า ควรซื้ออย่างไร สินค้ามีกี่ชนิด จะได้ไม่ซื้อผิดประเภทและขาดทุนในภายหลัง
"ถ้าวงษ์พาณิชย์ จะทำแฟรนไชส์เพื่อทำธุรกิจหาลูกค้าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ควรเป็นวิธีการที่เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน ซึ่งปัจจุบันผู้ค้าของเก่าก็ทำกันอยู่แล้ว คือถามจากร้านของเก่าที่ใกล้บ้านหรือโทรศัพท์ถาม ไม่มีใครปิดบังกัน เพราะจะได้ลูกค้าและได้ค่าหัวคิวเพิ่มขึ้นมา ก็หมายถึงกำไรนั่นเอง"แหล่งข่าวเจ้าของกิจการเกี่ยวเนื่องกับขยะรีไซเคิลกว่า10แห่งกล่าว
ด้านนายสมไทย วงษ์วาณิชย์ เจ้าของบริษัทวงษ์พาณิชย์ จำกัด กล่าวว่า กรณีการเก็บค่าแฟรนไชส์แพงเกินจริงนั้น คงต้องบอกว่าเป็นเรื่องของภูมิความรู้ ที่ผู้ประกอบการสนใจเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมลักษณะ SMEs อย่างแท้จริง จะต้องมี ไม่ใช่แค่เปิดร้านค้าเล็กๆ รับซื้อของเก่า
"หากแหล่งรับซื้อรายใด มีขยะรีไซเคิลไม่กี่ตัน เมื่อนำวัตถุดิบไปขายยังอุตสาหกรรมปลายทาง ตามโรงงานนั้น คนรับซื้อเขาอาจไม่คุยด้วย การเจรจาต่อรองว่ากันด้วยปริมาณ การให้ราคาก็ต่างกัน ดังนั้นผมจำเป็นต้องรวบรวมวัตถุดิบให้มากพอ เพื่อไปต่อรองเจรจากับโรงงานนั้นๆ ได้ และเป็นเหตุผลหนึ่งต้องขยายกิจการเครือข่ายให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อเจรจาต่อรองราคากับโรงงาน"
เขากล่าวว่า เส้นทางขยะรีไซเคิลไปสู่อุตสหกรรมปลายทางนั้น จำเป็นต้องเรียนรู้ และต้องทราบว่าตลาดรับซื้อกลางหรือหั่งเช็ง เป็นอย่างไร จังหวะใดควรปล่อยขายวัตถุดิบออกไปถึงเหมาะสมเพื่อให้ได้ราคาดีที่สุด คนที่สนใจประกอบอาชีพนี้ในระดับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) จะต้องผ่านการอบรม เรียนรู้จากบริษัทฯ
แต่ผู้ประกอบการรายเล็กๆ อาจไม่จำเป็นก็ได้
ทั้งนี้เครือข่ายวงษ์พาณิชย์ปัจจุบันมีทั้งหมด 33 สาขา มีเป้าหมายเปิดขายแฟรนไชส์ให้ครบถึง 100 สาขาในปี 2546 ผู้ประกอบการที่จะใช้ชื่อวงษ์พาณิชย์ ต้องผ่านการอบรมและคัดเลือกก่อน และเสียค่าแฟรนไชส์เปิดร้าน ตามขนาดการลงทุน เช่น ไม่เกิน 3 ล้านบาท (ไม่นับเครื่องมือและที่ดิน) บริษัทวงษ์พาณิชย์เรียกเก็บค่าธรรมเนียมครั้งเดียว 2 แสนบาท หากเกิน 5 ล้านบาทเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 3 แสนบาท ส่วนบางรายยื่นขอลงทุนแค่ 5 หมื่นบาทก็ดำเนินการได้ พร้อมลดหลั่นค่าธรรมเนียมลง
นายสมไทย กล่าวว่า บางคนไม่เข้าใจว่าธุรกิจขยะรีไซเคิลทำไมต้องเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ ทั้งนี้ต้องยอมรับว่าธุรกิจคือธุรกิจ แม้แต่ญาติพี่น้อง ก็ไม่เปิดเผยความลับเชิงธุรกิจกัน จึงเป็นที่มาของการคิดระบบแฟรนไชส์ การอบรมให้ความรู้เพิ่มเติม นอกจากนี้สินค้าหรือวัตถุดิบในตลาดมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จะรู้ได้อย่างไรว่าอุตสาหกรรมปลายทางรับซื้อขยะประเภทใดบ้าง ดังนั้นค่าแฟรนไชส์คือค่าความรู้ที่ไม่สามารถหาได้จากที่อื่น และเมื่อขนาดการลงทุนใหญ่ขึ้นก็ต้องซื้อแฟรนไชส์แพงขึ้นด้วย เนื่องจากปริมาณวัตถุดิบที่มากขึ้นหมายถึงรายได้ที่จะได้รับมากขึ้นด้วย
ทั้งนี้ วงษ์พาณิชย์ที่เริ่มก่อตั้งเมื่อ 28 ปีที่ผ่านมา และได้ขยายเครือข่ายรับซื้อขยะไปยังจังหวัดต่างๆ เนื่องจากโรงงานปลายทางรับซื้อไม่อั้น และมีผู้สนใจเข้าสู่ธุรกิจนี้มากขึ้นติดต่อเข้ามา ส่งผลให้การดำเนินธุรกิจขยายไปสู่การอบรมสัมมนาให้ความรู้การรับซื้อของเก่าแก่ผู้สนใจ โดยคิดค่าใช้จ่ายรายละ 8,000 บาท มีผลงานแล้ว 13 รุ่น มีผู้สำเร็จจำนวน 1,800 คน
แหล่งข่าววงการค้าของเก่ารายหนึ่งเปิดเผยว่า วงษ์พาณิชย์ประสพผลสำเร็จ ในการขยายสาขาไปทั่วเมือง เนื่องจากนายสมไทยได้ประชาสัมพันธ์หรือโปรโมตตัวเองอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากป้ายคัตเคาท์โฆษณาต่างๆ หรือการมีส่วนร่วมในแวดวงสังคมอยู่ตลอด ทั้ง ๆ ที่ธุรกิจรับซื้อขยะไม่น่าทำประชาสัมพันธ์ได้ รวมไปถึงการเข้าถึงองค์กรส่วนปกครองท้องถิ่นอย่างกลมกลืน ดังนั้นเงินทุกบาททุกสตางค์ที่เขาลงทุนไป ย่อมหวังผลเชิงธุรกิจแน่นอน จึงนำมาสู่การเก็บเงินค่าสิทธิ์หรือค่าแฟรนไชส์ที่ตั้งราคาไว้ 2-3 แสนบาท ถือว่าแพงหรือไม่นั้นไม่สามารถตอบได้ เพราะธุรกิจนี้ไม่มีคู่แข่งขัน หากตอบว่าแพง ผู้ดำเนินกิจการอาจชี้ถึงต้นทุนที่มาค่าสิทธิ์ ดังนั้นค่าสิทธิแฟรนไชส์ก็คือผลพวงจากการลงทุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อหักกลบค่าดำเนินงานเช่น ค่าโฆษณา การช่วยเหลือสนับสนุนสังคมด้านต่างๆ

อีกมุมหนึ่ง วงษ์พาณิชย์ขยายเครือข่ายเพิ่มมากขึ้น ก็เพื่อต่อรองราคาค่าวัตถุดิบให้สูงขึ้น ทั้งนี้ต้องยอมรับว่าโรงรับซื้อขยะรายย่อยๆ ไม่สามารถเข้าถึงโรงงานปลายทางได้โดยตรง แค่ติดต่อร้านรับซื้อแถบชานเมืองกรุงเทพมหานครโดยอิงราคาหั่งเช็ง เป็นแค่พ่อค้ากลางรับซื้อเพื่อไปขายต่อโรงงานอีกทอดหนึ่งราคาย่อมถูกกดลงต่ำ หนทางเดียวที่จะนำขยะไปขายเพื่อให้ได้ราคาสูง คือป้อนสู่โรงงานโดยตรง

ราคาส่วนต่างของวัตถุดิบรีไซเคิล อาจเรียกได้ว่าค่าเปอร์เซ็นต์ หรือค่าหัวคิวก็ได้ ซึ่งบรรดา?เจ้าพ่อค้าของเก่า?ต้องหาลูกข่ายมาอยู่ในมือให้มากที่สุด เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองเจรจาขายของป้อนโรงงาน เพื่อกินเงินส่วนต่างราคา แต่ต้องควบคุมลูกข่ายในสังกัดให้ช่วยป้อนวัตถุดิบรีไซเคิลสู่โรงงานภายใต้ชื่อ ๆ เดียว

"หากคุณไปติดต่อขายกับโรงงานปลายทางเอง เขาอาจถามย้อนกลับว่า จะส่งวัตถุดิบหรือขยะรีไซเคิลกี่ตันต่อปี และต้องระบุยอดวัตถุดิบในสังกัดเครือข่ายให้ได้เสียก่อน เพื่อมิให้เกิดผลเสียต่อโรงงานรับซื้อ"แหล่งข่าวกล่าว และว่า ที่ผ่านมาธุรกิจค้าของเก่า ต้องมีระบบพรรคพวก มีเครือญาติ ไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้ลำพัง แม้บางจังหวัดเช่น อุตรดิตถ์ และสุโขทัย ผู้ประกอบการค้าของเก่าหลายแห่งก็ต้องผนึกกำลังเพื่อรวมขยะรีไซเคิลทั้งหมดส่งขาย โดยใช้ชื่อบุคคลเดียว ทั้งนี้เพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรอง นำไปสู่ผลประโยชน์ทั้งสองฝ่าย



13 มิถุนายน 2545

3 ความคิดเห็น:

  1. #### รับซื้อ___ท่อแคทตาไลติก__ให้ราคาดี__085-4420078_จูนซัง

    ตอบลบ
  2. รับซื้อท่อแคทตาไลติก เก่า ให้ราคาดีครับ 085-4420078 จูนซัง

    ตอบลบ
  3. รับซื้อคอมพิวเตอร์ให้ราคา สูงแน้นอน 0837846901 ดาวิด

    ตอบลบ