"หากคุณไปติดต่อขายกับโรงงานปลายทางเอง เขาอาจถามย้อนกลับว่า จะส่งวัตถุดิบหรือขยะรีไซเคิลกี่ตันต่อปี และต้องระบุยอดวัตถุดิบในสังกัดเครือข่ายให้ได้เสียก่อน เพื่อมิให้เกิดผลเสียต่อโรงงานรับซื้อ

ธุรกิจค้าของเก่า ต้องมีระบบพรรคพวก มีเครือญาติ ไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้ลำพัง ต้องผนึกกำลังเพื่อรวมขยะรีไซเคิลทั้งหมดส่งขาย โดยใช้ชื่อบุคคลเดียว ทั้งนี้เพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรอง นำไปสู่ผลประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ธุรกิจ SMEs : รีไซเคิลขยะวัสดุพลาสติก



ธุรกิจ  SMEs : รีไซเคิลขยะวัสดุพลาสติก
     รีไซเคิล (Recycle) เป็นการจัดการวัสดุเหลือใช้ที่กำลังจะเป็นขยะ โดยนำไปผ่านกระบวนการแปรสภาพ โดยเฉพาะการหลอม เพื่อให้เป็นวัสดุใหม่แล้วนำกลับมาใช้ได้อีก ซึ่งวัสดุที่ผ่านการแปรสภาพนั้นอาจจะเป็นผลิตภัณฑ์เดิมหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ก็ได้ รีไซเคิลมีความหมายต่างจาก รียูส (Reuse) ซึ่งหมายถึง การนำกลับมาใช้ใหม่โดยไม่ผ่านกระบวนการแปรสภาพใดๆ ทั้งสิ้น
     ธุรกิจรีไซเคิลเริ่มมีความสำคัญ เพราะประเทศไทยมีขนาดใหญ่มีพลเมืองกว่า 63 ล้านคน ในแต่ละวันจะมีของทิ้งจากโรงงานและครัวเรือนจำนวนมาก ถ้าเรานำของเหล่านั้นมารีไซเคิล หรือซื้อมาแล้วส่งให้โรงงานรีไซเคิล ทั้งในและต่างประเทศ ก็จะทำเงินได้อย่างมาก และควรเริ่มจากพลาสติกก่อนเพราะหาง่าย

    
     ตลาดรับซื้อเศษพลาสติกมีขนาดใหญ่มาก เนื่องจากวัสดุรีไซเคิลมีมานานแล้ว และในอนาคตจะยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้น ของทุกอย่างสามารถนำมารีไซเคิลได้ อย่างเม็ดพลาสติกมาจากการสกัดน้ำมัน ซึ่งขณะนี้ราคาน้ำมันดีดตัวสูงขึ้นมาก เพราะฉะนั้นจึงมีคนหันมาจับธุรกิจค้าของเก่า เพื่อนำไปรีไซเคิลเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว
     โรงงานที่ผลิตสินค้าจำพวกพลาสติกจากวัตถุรีไซเคิลจะมีต้นทุนวัตถุดิบถูกกว่ามาก พลาสติกใหม่ราคากิโลกรัมละ 80-100 บาท แต่ของเก่ากิโลกรัมละ 15-20 บาทเท่านั้น ซึ่งคุณภาพเหมือนกัน ขายสินค้าได้ราคาเท่ากัน เมื่อเป็นอย่างนี้จะเลือกอย่างไหน ก็ต้องเลือกของเก่า ยังมีเศษพลาสติกอีกหลายชนิดที่รอให้เข้าไปจัดการและพบโอกาสทำเงินด้วยมุมมองใหม่ ส่วนใครที่อยากรวยด้วยขยะรีไซเคิลเหมือนผู้ที่ทำสำเร็จมาแล้วเป็นเรื่องที่ไม่ไกลเกินความจริง สำคัญต้องปรับแนวคิดใหม่ และไม่อายที่จะลงไปคลุกคลี ใช้ความสมัยใหม่มาสร้างโอกาสธุรกิจ คิดแบบคนรุ่นใหม่ ค้าขายด้วยวิธีการใหม่ แล้ววันนั้นอาจรวยไม่รู้ตัว.... และคุณเองก็พบโอกาสอย่างนี้ได้เช่นกัน
ลักษณะธุรกิจ ประกอบธุรกิจด้วยการจัดกากลุ่มขยะประเภทพลาสติกใช้แล้ว โดยการประยุกต์ใช้องค์ความรู้และเครื่องมือทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ มาเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะทางกายภาพขยะพลาสติกดัดแปลงให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับความต้องการและการใช้งานของตลาด เช่น ของตกแต่ง ของใช้ในครัวเรือน ของใช้ในงานอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่อาหาร ของใช้งานเกษตร เป็นต้น
อารัมภบท ขยะก็คือแร่บนพื้นดิน และคือ “เงิน”
     เริ่มแบบค่อยเป็นค่อยไปจะดีกว่า อย่าไปทับเส้นหรือแข่งขันรับซื้อกับเจ้าถิ่น ถ้าเป็นไปได้ไปเป็นคู่ค้ากับเจ้าถิ่น ใช้เงินลงทุนไม่มากและหาช่องทางนำขยะรีไซเคิลเหล่านี้ไปสู่โรงงานแปรรูปขั้นสุดท้ายว่าเขาคือใคร แปรรูปโดยวิธีการอย่างไร จะได้มูลค่าเพิ่มสูงสุด โดยเฉพาะขยะจำพวก พลาสติก กระดาษ โลหะ แก้ว เช่น การแปรรูปเพิ่มมูลค่าจากขยะพลาสติก PE, PP จนถึงสินค้าสำเร็จรูปประเภทพาเลทพลาสติก สามารถเพิ่มมูลค่าจาก 12 บาท/กก. เป็น 55-60 บาท/กก. ถ้ารู้แบบนี้ ก็พยายามหาขยะหรือรับซื้อเศษพลาสติกชนิด PP หรือ PE ราคาประมาณ 8-12 บาท/กก. นำมาล้างทำความสะอาดก่อนเข้าเครื่องบดย่อย มีต้นทุนประมาณ 5 บาท/กก. และจ้างเขารีดตัดเป็นเม็ดพลาสติกอีก 5 บาท/กก. ได้ต้นทุนรวมประมาณ 22-23 บาท/กก.นำไปขายให้โรงงานฉีดพลาสติกในราคา 28-32 บาท/กก. ก็สามารถทำเป็นธุรกิจต่อเนื่องได้ ตลาดเม็ดพลาสติกรีไซเคิลที่สำคัญ เช่น โรงงานศรีไทย, แพลตตินั่ม, วินเนอร์, ทีซีเค, นวพลาสติก, นำง่ายฮง รวมแล้วมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาท/เดือน ขยะอื่นๆ จำพวก กระดาษ แก้ว โลหะ จะทำได้ง่ายกว่าเพราะไม่ต้องแปรรูปเป็นเม็ด เพียงทำให้มีความหนาแน่นสูง โดยการบดหรือบีบอัด ย่อยให้เล็กลง เพื่อสะดวกในการลำเลียงและขนส่ง ก็สามารถเพิ่มมูลค่าได้เช่นกัน ตลาดที่สำคัญ เช่น สยามคร๊าฟท์, ไทยเคนเปเปอร์, สยามสตีลซินดิเคท สยามยาโมะโตะ, บีจี, เบียร์ช้าง เบียร์สิงห์ ฯลฯ

     ธุรกิจ Recycle มีคนเปิดกิจการออกมารับซื้อกันอย่างมากมายตามที่เราเห็นกันตามร้านข้างทาง การที่ธุรกิจ Recycle มีคนเปิดกิจการด้านนี้กันมาก เพราะเขาทราบถึงขั้นตอนการลงทุน การได้กำไรกลับคืนมา การที่เขาจะตั้งตัวเพราะเป็นธุรกิจ Recycle ที่ทำให้รวยได้เร็ว สามารถไปต่อยอดด้านอื่นได้ หรือเรียกง่ายๆ ว่าสามารถตั้งตัวได้เร็วกว่า ธุรกิจตัวอื่นที่ต้องมีการลงทุนที่สูง ไหนจะมีอัตราเสี่ยงที่มากกว่า แต่สาเหตุที่ยังมีคนทำกันอยู่น้อยเหตุผลมันมีหลายสาเหตุนะ แต่ขอยกตัวอย่างบางส่วนแล้วกันว่าเพราะเหตุผลอะไร คนถึงไม่เลือกทำธุรกิจ Recycle เป็นอันดับแรก ๆ
     1) ธุรกิจ Recycle เป็นธุรกิจที่คนทั่วไปมองว่าสกปรก ต้องอยู่กับขยะ
     2) ธุรกิจ Recycle เป็นธุรกิจที่ทำกันเฉพาะคนที่อยู่ในวงการเท่านั้นเพราะ วิชาชีพ หรือ ความลับไม่ถูกเปิดเผย และไม่ได้ทำกันง่ายๆ ถ้าไม่รู้ข้อมูลจริงๆ
     3) อยากทำแต่ไม่รู้จะเริ่มต้นยังไงไม่รู้จะหาข้อมูลที่ไหนเลยทำให้ไม่สามารถเริ่มต้นทำ ธุรกิจ Recycle ได้
     4) การลงทุนทำ ธุรกิจ Recycle นั้น ต้องใช้ทุนค่อนข้างสูงเลยทำให้ไม่สามารถเริ่มต้นทำอาชีพ Recycle ได้
     5) กลัวว่าทำ ธุรกิจ Recycle แล้ว ถูกเพื่อนๆ ญาติ ๆ แฟน และ พี่น้องดูถูก ว่าอาชีพอื่นดีๆ มีตั้งเยอะแต่ไม่เลือกทำดันมาทำกับขยะ
     6) และเหตุผลอื่นๆ อีกมากมาย เลยทำให้ไม่กล้าทำ ธุรกิจ Recycle
     พอจะทราบคร่าวๆ ถึงเหตุผลที่คนไม่ทำธุรกิจ Recycle กันแล้ว สำหรับผู้ที่อยากรู้จักธุรกิจ Recycle ให้ดีกว่านี้ ก็เพราะมันสามารถทำเงินให้คุณได้มากกว่าที่คิด และเชื่อไหมธุรกิจ Recycle สามารถทำเงินเป็นแสนได้ต่อเดือน                             
ข้อดีของ ธุรกิจ SMEs
     1) ผู้ประกอบการสามารถทำในสิ่งที่ตนเองชอบ ถนัด และมีวิถีชีวิตตามที่ตนเองต้องการหากมีความรู้ความสามารถในการจัดการที่ดี
     2) การทำ ธุรกิจ SMEs ทำได้ง่าย เพราะใช้ปัจจัยในการดำเนินกิจการต่าง ๆ ไม่มาก
     3) ผู้ประกอบการมีความเป็นอิสระ คล่องตัวในการบริหารกิจการได้อย่างทั่วถึง
     4) การดำเนินกิจการประสบปัญหาหรือเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจโอกาสที่จะฟื้นตัวเกิดได้ง่ายกว่ากิจการขนาดใหญ่
     5) การดำเนิน ธุรกิจ SMEs ทุกประเภท มีความยืดหยุ่นสูงสอดคล้องกับยุคการผลิต
ข้อเสียของ ธุรกิจ SMEs
     1) ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมส่วนใหญ่มักจะขาดความรู้ด้านการตลาดเมื่อผลิตสินค้าออกมาแล้วไม่สามารถจำหน่ายได้
     2) ผู้ประกอบการมักขาดความรู้ในการจัดการหรือการบริหารงานที่เป็นระบบ เพราะส่วนใหญ่จะใช้ประสบการณ์จากการเรียนรู้
     3) ธุรกิจนาดกลางและขนาดย่อมมักใช้เทคนิคการผลิตไม่ซับซ้อน เนื่องจากมีต้นทุนต่ำ
     4) ไม่สามารถรักษาแรงงานที่มีฝีมือและมีความชำนาญงานไว้ได้ เพราะแรงงานเมื่อมีประสบการณ์มากขึ้นมักจะย้ายออกไปทำงานในสถานประกอบการที่มีขนาดใหญ่
     5) ผู้ประกอบการมักขาดแคลนเงินทุนหรือขยายกิจการไม่ได้ เนื่องจากขาดความเชื่อถือจากสถาบันการเงิน
วัตถุดิบ
     บรรดาขยะวัสดุพลาสติก (Plastic Wastes or Plastic Scraps) ที่ถูกทิ้งจากการใช้และเหลือใช้หลักๆ มีอยู่ 2 ประเภท คือ Polypropylene - PP และ Polyethylene – PE แต่ในสัดส่วนจำนวนมากมาจาก Polyethylene จะเน้นใช้วัตถุดิบประเภทนี้เป็นหลัก แต่ต้องแยกแยะให้ชัดเจนระหว่างกลุ่ม LDPE กับกลุ่ม HDPE ซึ่งเป็นพลาสติกชนิดหนึ่งที่มีจุดเด่นด้านการขึ้นรูปได้ในรูปร่างต่างๆ หรืออัตราตามที่คุณต้องการได้อย่างง่าย รวมทั้งมีความทนทานและกันน้ำ ส่งผลให้มักใช้เป็นผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์พลาสติก สำหรับบรรจุสิงของที่มีน้ำหนักค่อนข้างมาก โดยเฉพาะถุงพลาสติก ขวดหรือว่ากระป๋องชนิดต่างๆ แม้ว่าในข้อสรุปวัสดุพลาสติกใช้แล้วไม่น่าที่จะเอามา recycle ได้ก็ตาม แต่ก็สามารถจะใช้ซ้ำได้หลายหนเท่าที่ต้องการ มากกว่านี้ วัสดุพลาสติก PE ยังสามารถนำกลับมาหลอมละลาย และขึ้นรูปใหม่ได้มากกว่านี้ วัสดุพลาสติกช่วยรักษาภาวะแวดล้อมได้พอสมควร โดยใช้พลังงานในรูปแบบการผลิตที่น้อยกว่าการทำกระดาษ พร้อมทั้งส่งผลกระทบในสถานะโลกร้อน หรือว่าการทิ้งก๊าซเรือนกระจก เข้าสู่สิ่งแวดล้อมน้อยกว่าการผลิตวัสดุ
ขยะพลาสติกหลังจากการแปรรูปเป็นเม็ดพลาสติก

 
หมายเหตุ : ซึ่งวัสดุพลาสติกหลังผ่านการแปรรูปและนำกลับมาใช้ใหม่คุณสมบัติจะเปลี่ยนบ้าง ดังนั้นผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัตถุดิบพลาสติกรีไซเคิลจึงต้องเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ถูกนำไปใช้กับสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่มแลหรือผลิตภัณฑ์ที่เน้นความปลอดภัย และสุขอนามัยในระดับสูง เช่น สินค้าเกี่ยวกับเด็กมักใช้ทำผลิตภัณฑ์ของใช้ของตกแต่ง และงานเกี่ยวกับการเกษตร เป็นต้น
เทคนิคการลงทุน (ตัวอย่าง)
     ในที่นี้ ควรทำเป็นสองระยะ ดังนี้
     ระยะที่ 1 เป็นการลงทุนแบบค่อยๆ เติบโต คือ เป็นรูปแบบจัดหา+ซื้อมา+ขายไป โดยที่เริ่มต้นธุรกิจด้วยการจัดหาวัสดุขยะพลาสติก อาจจะมีกลุ่มอิทธิพลในพื้นที่เพราะฉะนั้นการหาวัสดุประเภทนี้จึงต้องมีความระมัดระวังอย่างดี สืบเสาะหาข้อมูลในแหล่งเครือข่ายให้ดีก่อน คือ ปลอดภัยไว้ก่อนก็ดี รวมทั้งการสืบหาราคากลางในการซื้อขายต่อกิโลกรัมด้วย นอกจากนี้ก็ต้องสืบรู้แหล่งรับซื้อและราคาขายหน้าโรงงานรีไซเคิลพลาสติกด้วยเช่นกัน ขนาดการลงทุนประมาณ 600,000-800,000 บาท ในกรณีใช้พื้นที่ในบริเวณบ้านของตนเองวางและจัดวางพักขยะวัสดุพลาสติก และลงทุนซื้อรถกระบะมือสอง 1 คัน กับอุปกรณ์/เครื่องมือจำเป็นพื้นฐาน
     ระยะที่ 2 เป็นการก้าวเข้าสู่รูปแบบธุรกิจขนาด SMEs มีระบบการจัดการที่ชัดเจน กล่าวคือมีการลงทุนในปัจจัยการประกอบการต่างๆ การเลือกทำเลที่เหมาะสม เช่น ในต่างจังหวัดที่มีราคาที่ดินต่ำ และสามารถกำกับดูแลค่าขนส่ง (Logistics) พวกขยะวัสดุพลาสติกได้ดี และมี Supply ได้ต่อเนื่อง สามารถสื่อสัมพันธ์กับชุมชนได้อย่างใกล้ชิด มีการจัดตั้งโครงสร้างหน่วยผลิต (แปรรูป)หน่วยตลาด หน่วยบัญชีและการเงิน และการดูแลจัดการเกี่ยวกับคนที่สำคัญที่สุด คือ การที่ต้องประสานงานกับหน่วยงานราชการในพื้นที่ เพื่อการขออนุญาตการประกอบกิจการต่างๆ ตามกฎหมาย ขนาดของการลงทุนในช่วงนี้จะค่อนข้างสูงประมาณอยู่ในช่วง 5 - 10 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับปัจจัยการผลิตที่สำคัญหลายๆ อย่าง  เช่น การเลือกคุณภาพเครื่องจักร ทำเลและขนาดที่ดิน เป้าหมายการผลิต เงินทุนหมุนเวียน  เป็นต้น
กรรมวิธีการผลิต
     กรณีที่ 1 ในระยะที่ 1 ลักษณะการประกอบการจะตั้งเป็นร้านค้ารับซื้อ-ขายส่งขยะวัสดุพลาสติก ก็มักจะเกี่ยวข้องกับการทำแผนที่แหล่งจัดหา และการวางระบบรับซื้อขยะวัสดุพลาสติก ราคาซื้อ-ขาย การคัดแยกแยะชนิด การกำหนดพื้นที่จัดเก็บ การทำความสะอาดเบื้องต้น การหีบห่อและการขนส่งถึงโรงงานรีไซเคิลวัสดุพลาสติก ซึ่งในรูปแบบนี้จำเป็นต้องใช้พื้นที่กว้างขวางมากและต้องระมัดระวังปัญหากับชุมชนข้างเคียงเกี่ยวกับ เสียงดัง กลิ่นเหม็น ฝุ่น และความสกปรก เครื่องมือทีใช้ก็มีรถยนต์กระบะ ค้อน คีม มีด ตะขอ เครื่องบีบอัดและหีบห่อ และอุปกรณ์อื่นๆ ดูรูปข้างล่างประกอบ
    
    
     กรณีที่ 2 เข้าสู่ระยะที่ 2 โดยมีข้อสมมติฐานว่าผู้ประกอบการมีวินัยทางการเงินดี รู้จักเก็บหอมรอมริบ บริหารกำไรเป็น และรู้จักเอาเงินไปลงทุนซื้อที่ดินเพื่อเตรียมการขยายธุรกิจในระยะที่ 2 ผู้ประกอบการได้ลงทุนจัดสร้างอาคารโรงงานและจัดหา จัดซื้อเครื่องจักรตามความต้องการในกระบวนการแปรรูปขยะวัสดุพลาสติก โดยใช้เครื่องจักรมือสองและเครื่องจักรที่ผลิตขึ้นเองในประเทศ ยกเว้นเครื่องฉีดหรือเป๋าพลาสติกรีไซเคิล ต้องเลือกให้สอดรับกับงานออกแบบผลิตผลิตภัณฑ์ตรงตามที่ตลาดต้องการ เช่น เป็นงานพลาสติกสำหรับของใช้และของตกแต่ง หรือสำหรับงานการเกษตร ต้องมีการจ้างคนงานเพิ่มขึ้น มีการเพิ่มขนาดวงเงินหมุนเวียนสำหรับการจัดหา จัดซื้อวัตถุดิบขยะพลาสติก PE วางรูปแบบระบบบัญชีและการเงินใหม่ ต้องมีการทำแผนธุรกิจ แผนตลาดและแผนการผลิต แผนการใช้พลังงาน แผนและโครงสร้างต้นทุนการผลิต การขาย ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงระบบ Logistics ด้วย และเรื่องอื่นๆ อาจะต้องมีการใช้ที่ปรึกษา SMEs จากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม 
     การออกแบบขั้นตอนการผลิตมีความสำคัญมาก ต้องทราบ Customer Need Satisfied ก่อนโดยการทำ Basic Market Research ซึ่งเมื่อได้ข้อมูลความต้องการของกลุ่มลูกค้า (ตลาด) ชัดเจนแล้ว มาออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ อนึ่งการจัดซื้อเครื่องจักรผลิตต้องเหมาะสมกับนัยผลิตภัณฑ์ที่จะทำการผลิตด้วย กระบวนการผลิตอาจจะเป็น ดังข้างล่างนี้
รูปแสดง กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ของใช้ ของตกแต่งจากพลาสติกรีไซเคิล

                            
วัสดุรีไซเคิลพลาสติกที่ผ่านการขบและบดแล้ว
แหล่งซื้อหาเครื่องจักรผลิตรีไซเคิลพลาสติก
     แหล่งผลิต/จำหน่ายเครื่องจักรอุปกรณืใช้ในงานการทำผลิตภัณฑ์พลาสติกจากวัสดุพลาสติกรีไซเคิลที่คัดเลือกมามี ดังนี้
     1) บริษัท พี.ซี.อินเตอร์พลาสท์ จำกัด ที่อยู่ 33/1 หมู่1 นิยม-เกาะแก้ว ถ.บางนา-ตราด กม.35 ต.คลองนิยมยาตรา อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ 10560 โทรศัพท์ 02-317-5462-64 โทรสาร 02-317-5466 E-mail : info@pcinterplast.com , pc_plast@hotmail.com
     2) บริษัท S.D.C. Polymer จำกัด ที่อยู่ 55/39 หมู่ 9 ซอยชลเทพ ถ.เทพารักษ์ ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 10540 โทรศัพท์ 02-312-3990-91 โทรสาร 02-312-3992 Email :  info@sdcpolymer.comWebsite: http://www.sdcpolymer.com (ข้อมูลด้านคุณสมบัติพลาสติกรีไซเคิล และเทคนิคการผลิต) 
     3) บริษัท รักษ์ 69 จำกัด ที่อยู่ 325 หมู่ 2 บ้านไร่ อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000 โทรศัพท์ 032-348228-9 โทรศัพท์มือถือ 085-989-9669 E-mail : info@rux69.com  Website : http://th.88db.com/th/Views/88LinksFrame.aspx?url=http://www.rux69.com/
     4) รับสร้างเครื่องจักรรีไซเคิลพลาสติก รายละเอียดตามนี้ (ที่คุณโจ หรือ คุณท๊อฟฟี่ )
     - เครื่องบดพลาสติก
     - เครื่องโม่พลาสติก
     - เครื่องล้างพลาสติก
     - เครื่องออโต้สำหรับขวดเพชร PET  (สำหรับการผลิตจำนวนมาก)
     - เครื่องอบแห้ง (ใช้ฮีดเตอร์)
     - เครื่องสลัดแห้ง
     - เครื่องแกะสติ๊กเกอร์  (รุ่นใหม่)
     - เครื่องอัดก้อน 
     - รับทำใบมีดสำหรับเครื่องโม่พลาสติก  (สามารถกำหนดความหนาของเหล็กได้)
     - รับออกแบบและวางเครื่องจักรรีไซเคิลพร้อมให้คำปรึกษา ติดต่อโทรศัพท์ 086-777-7679 และ 085-370-0408 หรือที่ คุณนรินทร์ธร มือถือ 086-323-2479 ผลิตและออกแบบเครื่องโม่พลาสติก เครื่องล้างพลาสติก เครื่องสลัดแห้ง เครื่องแยกพลาสติก เครื่องอัดก้อนพลาสติก เครื่องดึงฉลาก เครื่องตัดเหล็ก เครื่องลับใบมีด สกรูลำเลียง สายพานลำเลียง เป็นต้น 
     5) บริษัท คอนเน็คท์ ทรีเท็ค จำกัด ที่อยู่ 103 หมู่ 13 ต.ไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม 73210 โทรศัพท์ 02-418-8016, 034-360-143 E-mail :  info@www.connect3t.com
                                                                 
                          เครื่องบดพลาสติก                                                                           ถังผสมสี

                                             
                                   ไซโล                                                                     เครื่องหลอมเม็ดพลาสติก
  
รูปแสดง  ตัวอย่างเครื่องจักรและอุปกรณ์ใช้ในการรีไซเคิลขยะวัสดุพลาสติก
รูปตัวอย่างแผนภูมิ SMEs การรีไซเคิลขยะพลาสติกฟิลม์ ที่มีการลงทุนค่อนข้างสูงและมีระบบการจัดการที่ดีมาก

รูปตัวอย่างแผนภูมิ SMEs การรีไซเคิลขยะพลาสติกแข็ง ที่มีการลงทุนค่อนข้างสูงและมีระบบการจัดการที่ดีมาก

เทคนิค "รีไซเคิล" พลาสติกอย่างไรถูกวิธี เราสามารถนำพลาสติกมา "รีไซเคิล" ได้อย่างไรและพลาสติกชนิดไหนที่รีไซเคิลได้
     กระบวนการรีไซเคิลพลาสติกเริ่มต้นด้วยการแยกพลาสติกชนิดต่างๆ ออกจากกัน เนื่องจากพลาสติกต่างชนิดกันมีสมบัติแตกต่างกัน เช่น จุดหลอมเหลว ความหนาแน่น ความแข็ง ความนิ่ม ความใส เมื่อพลาสติกแต่ละชนิดถูกแยกออกจากกันแล้ว จะถูกบีบให้แบนแล้วมัดรวมกันเป็นก้อน เพื่อแยกส่งไปยังโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลที่โรงงานพลาสติกแต่ละชนิดจะถูกนำมาบดให้เป็นชิ้นเล็ก และล้างทำความสะอาดในบ่อน้ำขนาดใหญ่ ในขั้นตอนนี้ฝุ่นและสิ่งสกปรกจะถูกกำจัดออกไป หลังจากนั้นชิ้นพลาสติกจะถูกทำให้แห้งโดยการตากแดดหรือใช้อากาศร้อน ป้ายกระดาษหรือฟิล์มที่ติดมากับชิ้นพลาสติกจะถูกเป่าแยกออกมา จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนการหลอมชิ้นพลาสติกผ่านเครื่องอัดรีด (extruder) ออกมาเป็นเส้น ก่อนตัดให้เป็นเม็ดเล็กๆ บรรจุลงกล่อง เพื่อส่งไปยังโรงงานขึ้นรูปพลาสติกให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ หากการขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่นี้ใช้เม็ดพลาสติกรีไซเคิลทั้งหมด ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ได้จะมีสมบัติทางกายภาพลดลง บางครั้งโรงงานจะนำเม็ดพลาสติกใหม่มาผสม เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีสมบัติดีขึ้น ตัวอย่างพลาสติกรีไซเคิลเรียงตามตัวเลขระบุที่ใต้ขวด หรือภาชนะ
     1) โพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (Polyethylene Terephthalate, PET, PETE) ใช้ทำขวดบรรจุน้ำดื่ม ขวดบรรจุของดอง ขวดแยม ขวดน้ำมันพืช ถาดอาหารสำหรับเตาอบ และเครื่องสำอาง สามารถนำมารีไซเคิลเป็นเส้นใย สำหรับทำเสื้อกันหนาว พรม ใยสังเคราะห์สำหรับยัดหมอน ถุงหูหิ้ว กระเป๋า ขวด
     2) โพลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง (High Density polyethylene, HDPE) ใช้ทำขวดนม น้ำ ผลไม้ โยเกิร์ต บรรจุภัณฑ์สำหรับน้ำยาทำความสะอาด แชมพูสระผม แป้งเด็ก และถุงหูหิ้ว สามารถนำมารีไซเคิลเป็นขวดใส่น้ำยาซักผ้า ขวดน้ำมันเครื่อง ท่อ ลังพลาสติก ไม้เทียมเพื่อใช้ทำรั้วหรือม้านั่งในสวน
     3) โพลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl Chloride, PVC) ใช้ทำท่อน้ำประปา สายยางใส แผ่นฟิล์มสำหรับห่ออาหาร ม่านในห้องอาบน้ำ แผ่นกระเบื้องยาง แผ่นพลาสติกปูโต๊ะ ขวดใส่แชมพูสระผม ประตู หน้าต่าง วงกล และหนังเทียม สามารถนำมารีไซเคิลเป็นท่อน้ำประปาหรือรางน้ำสำหรับการเกษตร กรวยจราจร เฟอร์นิเจอร์ ม้านั่งพลาสติก ตลับเทป เคเบิล แผ่นไม้เทียม
     4) โพลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (Low Density polyethylene, LDPE) ใช้ทำฟิล์มห่ออาหารและห่อของ ถุงใส่ขนมปัง ถุงเย็นสำหรับบรรจุอาหาร สามารถนำมารีไซเคิลเป็นถุงดำสำหรับใส่ขยะ ถุงหูหิ้ว ถังขยะ กระเบื้องปูพื้น เฟอร์นิเจอร์ แท่งไม้เทียม
     5) โพลิโพรพิลีน (Polypropylene, PP) ใช้ทำภาชนะบรรจุอาหาร เช่น กล่อง ชาม จาน ถัง ตะกร้า กระบอกใส่น้ำแช่เย็น ขวดซอส แก้วโยเกิร์ต ขวดบรรจุยา สามารถนำมารีไซเคิลเป็นกล่องแบตเตอรี่ในรถยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ เช่น กันชนและกรวยสำหรับน้ำมัน ไฟท้าย ไม้กวาดพลาสติก แปรง
     6) โพลิสไตรีน (Polystyrene, PS) ใช้ทำภาชนะบรรจุของใช้เช่น เทปเพลง สำลี หรือของแห้ง เช่น หมูแผ่น หมูหยอง และคุ๊กกี้ นอกจากนั้นยังนำมาทำโฟมใส่อาหาร ซึ่งจะเบามาก สามารถนำมารีไซเคิลเป็นไม้แขวนเสื้อ กล่องวิดีโอ ไม้บรรทัด กระเปาะเทอร์โมมิเตอร์ แผงสวิตช์ไฟ ฉนวนความร้อน ถาดใส่ไข่ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ
     7) พลาสติกชนิดอื่นที่ไม่ใช่พลาสติกทั้ง 6 กลุ่มข้างต้น หรือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกหลายชนิด ในขั้นตอนของการบดพลาสติกเพื่อให้มีขนาดเล็กลง ไม่ไปอุดตันในกระบวนการรีไซเคิลนั้น จะทำให้พลาสติกรีไซเคิลมีสมบัติความแข็งแรงทางกายภาพลดลง เนื่องจากแรงเฉือนเชิงกล (Mechanical Shear) ในเครื่องบดไปทำลายโซ่ของโพลิเมอร์ให้แตกออก ทำให้ความยาวของโมเลกุลและน้ำหนักโมเลกุลลดลง ซึ่งส่งผลให้สมบัติเชิงกลของพลาสติกลดลง นอกจากนั้นเรื่องของความบริสุทธิ์ก็มีความสำคัญต่อสมบัติของพลาสติกแต่ละชนิดในการเลือกเพื่อนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ หากใช้กระบวนการแยกพลาสติกที่ไม่ดีพอ อาจทำให้ไม่ได้พลาสติก รีไซเคิลที่บริสุทธิ์
                    
ผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิล
ภาพรวมกลยุทธ์การตลาด
     โครงสร้างต้นทุนราคาการผลิตผลิภัณฑ์จากวัสดุเม็ดพลาสติกรีไซเคิล ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยค่าขยะวัสดุพลาสติก ค่าแรง ค่าไฟฟ้า ค่าขนส่ง ค่าภาชนะบรรจุ(ถ้ามี) ค่าใช้จ่ายทางการเงินและบัญชี เช่น ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรและอุปกรณ์ และค่าเสียหายในการผลิต ปัญหาต้นทุนจะอยู่ที่ค่าแรงและค่าพลังงาน แต่อย่างไรก็ตาม มีข้อน่าสังเกตว่า ราคาเม็ดพลาสติกจากการผลิตอยู่ที่ 80-120 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่ราคาพลาสติกรีไซเคิลอยู่ที่ 15-20 บาทต่อกิโลกรัม นี่คือเสน่ห์ของธุรกิจอุตสาหกรรมพลาสติกรีไซเคิล ในขณะที่สังคมโลกก็ร่วมมือกันบรรเทาปัญหาโลกร้อนและรักษ์สิ่งแวดล้อม
     ผลิตภัณฑ์และบริการ เริ่มต้นธรกิจก็อาจจะขายในรูปของขยะพลาสติกก่อน จากนั้นเมื่อมีเงินทุนเพิ่มก็ขยับเข้าสู่การขยายทำเม็ดพลาสติกจากขยะพลาสติกรีไซเคิลขายส่งโรงงาน เมื่อมีทุนเพิ่ม ก็ขยายทำผลิตภัณฑ์จากเม็ดพลาสติกรีไซเคิลขาย
     การกำหนดราคาขายให้ตั้งราคาขายจากโครงสร้างค้นทุนบวกกำไรที่ต้องการ แต่ต้องไม่ไปทำลายราคาของคู่แข่งที่มีอิทธิพลในท้องถิ่น
     ส่วนทำเลที่ตั้ง ตามที่ได้กล่าวมาบ้างแล้วต้องระมัดระวังการต่อต้านจากชุมชน เนื่องธุรกิจอาจจะส่งกลิ่นเหม็นเพราะฉะนั้นต้องมีการประสานงานและสัมพันธ์ภาพที่ดีกับหน่วยงานราชการและชุมชน หาที่ผลิตในต่างจังหวัดจะดีมาก แต่ต้องมีเครือข่ายจัดส่งวัตถุดิบขยะพลาสติกด้วย และต้องระมัดระวังเกี่ยวกับต้นทุนค่า Logistics
     สำหรับการส่งเสริมการขายและประชาสัมพันธ์ ก็ต้องสร้างเครือข่าย Supplier ที่ดีกับโรงงานรับซื้อหรือผู้ผลิตสินค้าพลาสติก มีการทำเว็บไซด์เพื่อผู้เข้าชมจะได้ทราบรายละเอียดสินค้า ราคา ที่อยู่ และประเภทชนิดของสินค้าที่ขาย
ช่องทางการจัดจำหน่าย
     อุตสาหกรรมพลาสติกรีไซเคิลเป็นการผลิตเพื่อขายในประเทศเป็นส่วนใหญ่คือ ประมาณร้อยละ 60-70 ของปริมาณการผลิตมุ่งป้อนตลาดภายใน ช่องทางการจำหน่ายมีทั้งที่จำหน่ายไปยังผู้บริโภคโดยตรง คือผู้บริโภคมาสั่งผลิตกับผู้ผลิตโดยตรงในกรณีที่ต้องการในปริมาณมาก การจำหน่ายมีทั้งจำหน่ายตรงแก่ผู้ใช้และจำหน่ายผ่านตัวแทนจำหน่าย
     1) การจำหน่ายให้กับผู้ใช้โดยตรง ซึ่งผู้ใช้มักจะเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ ทำให้ได้ราคาที่ต่ำลง แต่ข้อดีคือผู้ซื้อรายใหญ่มักจะมีปริมาณและช่วงเวลาการสั่งซื้อที่แน่นอน ช่วยให้ผู้ผลิตสามารถวางแผนการผลิตและการส่งมอบสินค้าได้ง่าย นอกจากนี้ยังสามารถกำหนดคุณภาพของสินค้ากับผู้ใช้ได้โดยตรง
     2) การจำหน่ายผ่านตัวแทนจำหน่ายและผ่านพ่อค้ารายย่อยต่างๆ มักเป็นวิธีการที่ผู้ผลิต จำหน่ายสินค้าให้กับผู้ซื้อรายย่อยหรือผู้ใช้ซึ่งมีความต้องการที่หลากหลาย เช่น ขนาด รูปแบบ และปริมาณที่แตกต่างกันไป และพ่อค้าเหล่านั้นก็จะทำการหาตลาดจำหน่ายผลิตภัณฑ์นั้นๆ ตามความสามารถของตน เช่น ตามตลาดนัดทั่วไปหรือห้างสรรพสินค้าต่างๆ เป็นต้น โดยมีระดับราคาที่ไม่สูงมากซึ่งสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจที่มีปัญหาอยู่ในขณะนี้
 
ผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิล

เงินลงทุน
     อาจจะเป็นในรูปแบบดังนี้ (เสริมข้อคิดจากที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น)
     1) สำหรับการเริ่มต้นทำธุรกิจเก็บขยะพลาสติกก็อาจจะทำโดยเพียงผู้เดียว โดยมีสมาชิกครอบครัวช่วยเหลือและสร้างระบบเครือข่ายจัดหาจัดส่งขยะพลาสติก คาดว่าต้องบริหารเงินลงทุนก็อยู่ในหลัก 20,000 - 50,000 บาท โดยอาจจะรับซื้อที่บ้านหรือใช้ซาเล้งเครื่องมอเตอร์ไซด์ ตระเวรรวบรวมขยะวัสดุพลาสติก ด้วยความอดทนในเริ่มระยะเริ่มต้นธุรกิจก่อน
     2) เมื่อตั้งธุรกิจทำเม็ดพลาสติกรีไซเคิล ตรงนี้ต้องมีเครือข่ายจัดหา และจัดส่งขยะพลาสติกที่คัดเลือกแล้วมาขาย จำนวนคนประกอบด้วย ผู้จัดการ 1 คน พนักงานบัญชีและการเงิน 1 คน พนักงานในส่วนผลิต 6 - 10 คน พนักงานขนส่ง 1 - 2 คน เงินลงทุนสูงขึ้น มีการใช้เครื่องจักรอุปกรณ์ และต้องใช้รถบรรทุกขนาดกลาง ต้องบริหารเงินทุนประมาณ 800,000 - 1,500,000 บาท แนะนำให้ใช้เครื่องมือสองแต่ต้องเลือกคุณภาพที่ดี
     3) เมื่อขยายเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์จากเม็ดพลาสติกรีไซเคิลเต็มตัว ต้องมีระบบการจัดการที่ดีขึ้น มีพนักงานเพิ่มขึ้น ใช้ระบบคอมพิวเตอร์และโปรแกรมงานมาควบคุมกิจการ มีการสร้างจุดเด่นของสินค้า สร้างการประสานงานและสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า มีการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการขายที่เป็นระบบ มีการวางแผนธุรกิจและการตลาด ซึ่งองค์ความรู้ด้านการจัดการธุรกิจที่ดีสามารถเรียนรู้ได้จากการเข้าร่วมหลักสูตร การเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ (NEC) ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เงินลงทุนค่อนข้างสูงมาก เพราะมีการจัดการเป็นระบบมากขึ้น ต้องเน้นคุณภาพสินค้า ต้องบริการและเอาใจใส่ลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ และต้องมีกิจกรรมสนับสนุนด้านสังคมบ้างด้วย และคาดว่าต้องบริหารเงินลงทุน ตั้งแต่ 5,000,000 - 10,000,000  บาท คาดหวังรายได้ตั้งแต่ 25,000 - 1,000,000 บาทต่อเดือน และการคืนทุนตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 1.8 เดือน
อ้างอิง
     1) ผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (Website : mis.rmutt.ac.th/sme/Details/InvestmentExamples/I052.doc)
     2) การรีไซเคิลพลาสติก คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (physics.science.cmu.ac.th/cement/recycle-plastic2.ppt)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น